หมวดเครื่องทำความสะอาดท่อ |
เครื่องแยงเขม่า ในท่อไฟ boiler |
เครื่องแยงตะกรันในท่อน้ำ boiler |
คอนเดนเซอร์& ชิลเลอร์ |
โรงงานน้ำตาล |
Application |
DRAIN CLEANER MACHINE |
Duet Cleaning Service |
Shipment |
HVAC Industry Links |
ความปลอดภัยของหม้อไอน้ำ ( Boiler ) ความปลอดภัยของหม้อน้ำ (Boiler) อุปกรณ์เสริมความปลอดภัยของ Boiler ๐ เกจ์วัดความดัน และ จุดตรวจทดสอบ ๐ วาล์วนิรภัย ๐ วาล์วลดความดัน ๐ เกจ์วัดระดับน้ำ ๐ วาล์วปิดเปิดไอน้ำ ๐ วาล์วปิดเปิด และเช็ควาล์วในท่อส่งไอน้ำ ความจำเป็นของวาล์วนิรภัย เพื่อป้องกันความดันภายใน Boiler ไม่ให้สูงเกินกว่าค่าความปลอดภัยที่ปรับตั้งไว้โดยที่วาล์วนิรภัยจะเปิดปล่อยให้ความ ดันไอน้ำส่วนที่เกินจากค่าที่ตั้งไว้ออกสู่บรรยากาศ เป็นการป้องกันการระเบิดของหม้อต้มไอน้ำ Bolier ทุกใบต้องมีวาล์วนิรภัยขนาดไม่ต่ำกว่า ½ นิ้วสำหรับ Boiler ขนาดเล็ก และ ¾ นิ้วสำหรับ Boiler ที่มีขนาดใหญ่ขึ้น Boilerมีพื้นที่ของฮีทเตอร์มากกว่า 500 ตารางฟุต และหม้อต้มไอน้ำไฟฟ้าที่มีกำลังเกิน 500 kW ต้องมีจำนวนวาล์วนิรภัยไม่น้อยกว่าสองตัวขึ้นไป ขนาดของวาล์วนิรภัย ไม่ว่ากรณีใดก็ตาม ขนาดของวาล์วนิรภัยต้องสามารถปลดปล่อยไอน้ำที่ Boiler สามารถผลิตได้สูงสุด โดยยอมให้ มีความดันเพิ่มขึ้นไม่เกินร้อยละ 6 ของความดันสูงสุดที่มีการปรับตั้งวาล์วไว้ และต้องไม่เกินร้อยละ 6 ของความดัน การทำงานสูงสุดของระบบ Boiler น วาล์วนิรภัยที่ใช้ใน Boiler ของเป็นวาล์วแบบที่ใช้แรงต้านความดันจากสปริงโดยตรงเท่านั้น คำจำกัดความของวาล์วปล่อยความดันนิรภัย (Safety relief valve) เป็นอุปกรณ์ปลดปล่อยความดันอัตโนมัติ ทำงานด้วยความดันภายในที่เพิ่มขึ้นจนถึงระดับที่ปรับตั้งไว้แล้ววาล์วจะเปิด อย่างรวดเร็วทันที (Pop action) และยังคงเปิดกว้างขึ้นต่อไปเพื่อปลดปล่อยความดันส่วนเกินออก นิยามศัพท์เฉพาะทางเกี่ยวกับวาล์วปล่อยความดันนิรภัย Blow down เป็นค่าแตกต่างของความดันที่วาล์วจะเปิดและปิด เช่น วาล์วที่เปิดที่ความดัน 200 psi และปิดที่ความดัน 195 psi จะมีค่า Blow down ที่ 5 psi เป็นต้น กฎกติกาเกี่ยวกับการกำหนดขนาดของวาล์วนิรภัย ความร้อนสูงสุด) โดยไม่ก่อให้เกิดความดันไอน้ำเพิ่มเกินกว่าร้อยละ 6 ของความดันสูงสุดที่ปรับตั้งไว้ที่วาล์ว ตัวหนึ่งตัวใด และต้องไม่เกินร้อยละ 6 ของที่กำหนดความดันสูงสุดไว้ ชื่อ หรือเครื่องหมายการค้าของผู้ผลิต ๐ เลขลำดับตามการออกแบบ หรือ ชนิดของผู้ผลิต ๐ ขนาด เส้นผ่าศูนย์กลางของวาล์วเป็นนิ้ว (วัดที่ท่อทางเข้าของวาล์ว) ๐ หน่วยของความดันเป็นปอนด์ต่อตารางฟุตหรือกิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร (ความดันของไอน้ำที่ดันให้วาล์วเปิดได้) ๐ ค่า Blow down เป็น กิโลกรัม หรือปอนด์ (BD คือค่าบอกความดันที่แตกต่างกันในขณะที่วาล์วเปิดและปิด) ๐ จำนวนวาล์วนิรภัยที่ต้องใช้ โดยปกติหม้อต้มไอน้ำต้องมีวาล์วนิรภัยประจำหนึ่งตัวเป็นอย่างน้อย แต่ถ้ามีพื้นที่ของ ฮีทเตอร์มากกว่า 500 ตารางฟุต ต้องเพิ่มจำนวนวาล์วมากขึ้นอีก ๐ เมื่อมีวาล์วนิรภัยไม่เกินจำนวน 2 ตัวที่มีขนาดต่างกันติดตั้งบน Boiler ร่วมกัน วาล์วตัวที่มีขนาดเล็กกว่าต้องสามารถ ปลดปล่อยไอน้ำได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของวาล์วตัวใหญ่กว่า ๐ เมื่อใดก็ตามที่มีการติดตั้งฮีทเตอร์เพิ่มความร้อนพิเศษ (Super heater) ให้กับ Boiler โดยที่ไม่มีการติดตั้งวาล์ว ระหว่างฮีทเตอร์พิเศษกับ Boiler จะต้องมีวาล์วนิรภัยจำนวนหนึ่งหรือสองตัวติดตั้งไว้ที่ท่อทางออกของฮีทเตอร์เสมอ ขนาดของวาล์วนิรภัยนี้อาจคิดขนาดความจำเป็นรวมกับขนาดของ Boiler ไว้ด้วยก็ได้ โดยที่ขนาดของวาล์วนิรภัยตัว ที่ติดกับ Boiler ต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ของขนาดที่ต้องใช้ทั้งหมด ตัวอย่าง สมมติว่า Boiler ขนาด 100 ตัน ต้องติดตั้งวาล์วนิรภัยสองตัวที่มีขนาดพอปลดปล่อยไอน้ำได้ร้อยละ75 (ของ 100 ตัน) คือ 75 ตัน ฮีทเตอร์พิเศษที่ติดตั้งต่อกับหม้อต้มไอน้ำนี้ต้องติดตั้งวาล์วนิรภัยขนาด (100-75) คือ25 ตันนั่นเอง จุดที่มีความสำคัญเป็นพิเศษ ๐ พื้นผิวแลกเปลี่ยนความร้อน ผิวของ Boiler ด้านที่รับพลังงานความร้อนจากแหล่งพลังงานได้แก่ ท่อน้ำ ห้องเผาไหม้ (Fire box) ผนังของหม้อต้ม และผิวที่สัมผัสกับความร้อนของหัวจ่าย ๐ ลำดับของการปลดปล่อยความดันของวาล์วนิรภัย วาล์วนิรภัยของฮีทเตอร์พิเศษต้องปรับระดับความดันให้ต่ำกว่าวาล์วของ Boiler เพื่อที่ว่าจะได้มีไอน้ำไหลผ่านฮีทเตอร์ ตลอดเวลา ถ้าวาล์วของหม้อต้มไอน้ำเปิดก่อน อาจทำให้ฮีทเตอร์ขาดไอน้ำที่เย็นกว่ามาหล่อเลี้ยง ซึ่งจะเป็นผลให้ท่อไอน้ำของ ฮีทเตอร์ร้อนจัดจนเกิดความเสียหายได้ ๐ วาล์วนิรภัยของระบบนำไอน้ำกลับมาต้มใหม่ (ด้วย Reheater) เราไม่สามารถกำหนดขนาดของวาล์วนิรภัยของระบบการนำไอน้ำบางส่วนกลับมาต้มใหม่ด้วย Reheater ไปรวมเป็น จำนวนเดียวกับขนาดของวาล์วที่ต้องใช้กับ Boiler และฮีทเตอร์พิเศษได้ ขนาดของวาล์วนิรภัยของระบบนำไอน้ำกลับมาต้มใหม่ ต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ 15 ของขนาดรวมของวาล์วทั้งระบบ ขนาดรวมของวาล์วในระบบ Reheater ต้องไม่น้อยไปกว่าอัตราการ ไหลของไอน้ำที่ออกแบบให้กับ Reheater นั้น และอย่างน้อยต้องมีวาล์วนิรภัยติดอยู่ด้านทางออกของReheater ๐ การติดตั้งวาล์วนิรภัย การติดตั้งวาล์วนิรภัยทุกครั้ง ต้องให้ตัววาล์วอยู่ในตำแหน่งตั้งตรงในแนวดิ่งหันปลายขึ้นฟ้า กรณีศึกษาความสูญเสียร้ายแรงในโรงไฟฟ้าไอน้ำ เหตุหม้อน้ำหมายเลข 1 ระเบิดที่ โรงไฟฟ้าบ่อนไก่เก่า TPS (4 x 60 MW) โรงไฟฟ้าบ่อนไก่เก่า TPS มีเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ขนาด 60 MW จำนวน 4 เครื่อง เริ่มเดินเครื่องช่วงระหว่างปี 1981-1986 มีรายงานหม้อน้ำของเครื่องหมายเลข 1 ระเบิดอย่าง รุนแรงเมื่อเวลาเช้า 05.15 น.วันที่ 23.6.91 มีสัญญาณไฟฟ้าตกที่เครื่องหมายเลข 1 และเครื่องก็หยุดจ่ายไฟฟ้า เป็นที่น่าสังเกต ว่าไม่มีสัญญาณไฟใดๆทั้งกระแสไฟตรงหรือกระแสไฟสลับในห้องควบคุมเครื่องหมายเลข 1 เลย ไฟฟ้าสำรองที่ควรติดโดยอัต โนมัติก็ไม่ทำงาน ผู้ควบคุมเครื่องได้รับคำสั่งให้ปิดการจ่ายน้ำมันไปที่เตาต้มหม้อไอน้ำ ขณะเกิดเหตุ หัวจ่ายน้ำมันหัวหนึ่งในระดับ CD และหัวจ่ายน้ำมันอีก 3 หัวในระดับ AB ยังคงทำงานตามปกติ ผู้คุมเครื่อง ได้ปิดหัวจ่ายที่ AB แล้ว ขณะที่กำลังจะไปปิดหัวจ่ายที่ CD หม้อน้ำก็ระเบิดขึ้น ผู้คุมเครื่องวิ่งหนีด้วยความตกใจสุดขีด และตกจากชั้นระดับ และถ่านหินใกล้กับหม้อน้ำบนชั้นระดับ มีการต่อเครื่องจ่าย DG เข้ามาแม้จะมีเครื่อง ACจ่ายไฟฟ้าอยู่แล้วก็ตาม มีรายงานต่อมาว่าเกียร์สวิทซ์ขนาด 6.6 Kv ตกอยู่ในน้ำจึง ไม่สามารถใช้งานได้ในขณะนั้น อย่างไรก็ตามมีการปิดเบรกเกอร์ 6.6 Kv และสามารถจ่ายไฟได้ใหม่ ข้อสังเกต ระหว่างการสอบสวนสาเหตุ พบว่า ๐ เศษเหลือจากการระเบิดที่นำออกจากเตาเผาเป็นผงถ่านและชุ่มโชกด้วยน้ำมันที่เผ้าไหม้ไม่หมด ๐ ด้านในของผนังเตาเป็นยางเหนียวของน้ำมัน ๐ พื้นที่ทำงานบริเวณหม้อน้ำเต็มไปด้วยถ่านหิน ฝุ่นขี้เถ้า และแม้แต่แผง BMS ยังเต็มไปด้วยฝุ่น ๐ ไม่มีร่องรอยของการใช้งานแผง BMS ในการปิดวาล์วเลย ๐ เครื่องจับสัญญาณเปลวไฟใช้งานไม่ได้มาหลายปีแล้ว อุปกรณ์จุดประกายไฟก็ใช้งานไม่ได้เช่นกัน ๐ ใช้ไฟจุดน้ำมันด้วยมือเมื่อต้องการติดเตา ความสูญเสียจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เกิดความสูญเสียดังนี้ ๐ มุมของเตาด้านที่ 1 และด้านที่ 4 ฉีกเป็นรอยเปิดเหนือระดับ CD ไปจนถึงด้านบนสุดของเตา ๐ ผนังด้านหน้า และด้านซ้ายของหม้อน้ำบวมโป่งออกมา และเหล็กรัดหม้อน้ำเสียหาย ๐ ท่อด้านออกจากหม้อน้ำหลุดกระเด็นออกจากหม้อน้ำ สาเหตุของการระเบิด ๐ เกิดความผิดพลาดในการเผาไหม้ต่อเนื่องแทนที่ระบบการทำงานของหม้อน้ำจะหยุดทำงานเอง ไม่ทำงาน จึงไม่มีกระแสไฟฟ้าเข้าเลี้ยงระบบ เมื่อแบตเตอร์รี่ไม่จ่ายไฟ ระบบควบคุมทั้งหมดจึงไม่ทำงาน จ่ายน้ำมันด้วยระบบแมนนวลได้หม้อน้ำจึงระเบิด แก้ ไขให้ใช้งานได้ตามปกติ เพลิงเพียงอย่างเดียว
|
เครื่องทำความสะอาดชิลเลอร์ คอนเดนเซอร์ สาเหตุที่ทำให้หม้อไอน้ำระเบิด กฎหมายสิ่งแวดล้อมของไทยที่เกี่ยวกับโรงงาน การตรวจสอบหม้อไอน้ำ และระบบไอน้ำ ความเป็นระเบียบและการซ่อมบำรุงช่วยให้ปลอดภัยได้อย่างไร |